หากดูผลการทำนายอัตราการเติบโตของแต่ละประเทศในปี 2010 จะเห็นว่าไม่ว่าผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยจะต้องการไปหางานต่างประเทศหรือไม่ก็ตาม สถานการณ์จะเป็นตัวบังคับให้ต้องไป เพื่อความอยู่รอด มิฉะนั้นบริษัทอาจจะต้องเปลี่ยนนโยบายบางอย่างเช่น ลดกำลังคน หรือลดขนาดขององค์กรลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่น้อยลง
ประเทศที่มีศักยภาพ และเป็นเป้าหมายของบริษัทก่อสร้างทั่วโลกหลักๆก็ไม่พ้น จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆในทวีปเอเชีย ซึ่งรวมประเทศเพื่อนบ้านของไทยด้วย แต่เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นประเทศขนาดเล็ก อัตราโตแม้จะมีเปอร์เซ็นต์สูงแต่หากพิจารณาในแง่ปริมาณเนื้องาน ก็คงไม่มากพอ ต่อความต้องการของผู้รับเหมาไทยทั้งหมด หรือหากรวมคู่แข่งต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก
ด้วยเหตุนี้ ทางเลือกจีน กับ อินเดีย จึงเป็นคำตอบ ของผู้รับเหมาไทยที่จะต้องพิจารณา แต่หากเพิ่มปัจจัยความสามารถในการแข่งขันมาพิจารณาด้วยแล้ว อินเดียยิ่งเป็นคำตอบสุดท้ายของทางเลือก เพราะบริษัทไทยมีโอกาสน้อยมากที่จะบุกไปชนะผู้รับเหมาจีนในถิ่นของเขาเองได้
ยุทธศาสตร์ความสำเร็จในอินเดีย
ด้วยเป็นประเทศมีขนาดใหญ่ทั้งขนาด และประชากร ความหลากหลายของเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ภาษา และชนชั้นวรรณะ ทำให้แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาของอินเดีย มีลักษณะเฉพาะที่ประเทศอื่นๆเข้าใจยากมาก ความไม่แน่นอนกลายเป็นความแน่นอนที่สุดในอินเดีย เงื่อนไขข้อตกลง สัญญา กำหนดนัด พร้อมที่จะเปลี่ยนไปได้เสมอเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ด้วยสมมติฐานที่ว่า เงื่อนไขได้เปลี่ยนไปจาก ตอนที่ได้ทำข้อตกลง สัญญา หรือตอนทำนัดกันแล้ว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องยากมากที่ชาวต่างชาติจะเรียนรู้และเข้าใจได้ในช่วงสั้นๆของการทำธุรกิจ เพราะลักษณะเฉพาะนี้ของอินเดียได้ตกผลึกมากว่า ๓๐๐๐ ปี หากศึกษาประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าแม้ว่าช่วงหนึ่งของหน้าประวิติศาสตร์อินเดียอาจจะมีคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (สมัยอโศกมหาราช) หรือตามมาด้วยยุคมุสลิมเรื่องอำนาจ (สมัยราชวงศ์โมกุล) แต่เมื่อหมดสมัยและกาลเวลาผ่านไป อินเดียก็กลับมาเป็นประเทศฮินดูเหมือนเดิมเช่นก่อนพุทธกาล ซึ่งนั่นแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในความเชื่อของคนอินเดีย เป็นไปยากมาก การทำธุรกิจกับคนอินเดีย จึงต้องได้คนที่มีปรัชญาการคิดเหมือนคนอินเดียเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ความสำเร็จของการทำธุรกิจในอินเดีย จึงต้อง “ ได้คนอินเดียที่ไว้ใจได้มาทำงานแทนเราและเพื่อผลประโยชน์เราจริงๆ” เท่านั้น
หากพิจารณาจาก ๒ ช่องทางหลัก ที่หลายๆบริษัทใช้เป็นช่องทางในการไปทำงานในอินเดีย คือ
๑. ไปประมูลงานเองเดี่ยวๆ
๒. Joint Venture กับบริษัทท้องถิ่น
ช่องทางที่ดีกว่าคือการ JV กับบริษัทท้องถิ่นเพราะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน บริษัทท้องถิ่นจะสามารถช่วยเราได้ และหากได้บริษัทท้องถิ่นที่ดีและไว้ใจได้จริงๆ หากมีปัญหาระหว่างกันก็จะสามารถหาข้อสรุปได้ง่ายกว่า และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
แต่การร่วมทุนหรือ JV กับบริษํทท้องถิ่นก็แค่พาราเซ็ดตาม่อน เท่านั้น คือแค่บรรเทาปวดหัวตัวร้อน ได้ระดับหนึ่ง คือแก้ปัญหาภายนอกที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันได้ แต่โรคภายในซึ่งร้ายแรงกว่าจะแก้ไขยาก เพราะทีมเวิร์กที่ประกอบด้วยคนต่างวัฒนธรรม การอยู่ และการทำงาน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะมาตรฐานการทำงาน ที่แต่ละฝ่ายคาดหวัง คนไทยอาจจะเห็นว่าควรทำได้ดีกว่านี้เพราะตัวเองเคยทำได้มาแล้ว แต่อินเดียเห็นว่าทำได้แค่นี้ก็มากที่สุดและเป็นที่พอใจแล้วเพราะปรกติทำได้อัตราต่ำกว่านี้ เป็นต้น ถึงตรงนี้มักจะถึงทางตัน และสุดท้ายไม่แยกทางกัน ก็จับมือกันขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะหาทางออกที่ปรองดองกันไม่ได้ เท่าที่เห็นไม่เคยเห็น JV ไหนที่อยู่กันยืดเกิน 2 โครงการ สุดท้ายก็แตกหัก ตัวใครตัวมัน JV partner ต่างชาติก็กลับบ้าน ส่วนบริษัทอินเดียก็เสาะแสวงหา Partner รายใหม่ ไปอีกเรื่อยๆ
รูปแบบการทำงานในอินเดียที่ให้ได้ผลจริงๆ จึงทำอย่างไรให้บริษัทท้องถิ่น เป็นของเราเอง เพราะเราจะได้พนักงานอินเดียที่เป็นคนของเราและทำงานให้ (บริษัท) เราอย่างจริงจัง และจริงใจอย่างที่กล่าวข้างต้น ซึ่งหากเปรียบการก่อตั้งบริษัทในอินเดีย เป็นเหมือนการปลูกต้นไม้ ก็จะมีวิธีปลูกอยู่ 2 รูปแบบคือ
1. ปลุกโดยใช้เมล็ด คือไปจดทะเบียนสร้างบริษัทตั้งแต่แรก แล้วค่อยๆฟูมฟักรักษาบริษัทให้โตขึ้น ช่วงแรกๆก็ JV กับบริษัทแม่ต่างประเทศในการประมูลงาน ผ่านไปหลายปีมีประสบการณ์เอง ก็ประมูลด้วยตัวเองได้ ที่เห็นประสบความสำเร็จด้วยวิธีนี้ คือบริษัท IJM ของประเทศมาเลเซีย หรือบริษัทเครือ ซีพี ของไทยเราเอง ที่ต่างก็ทำงานในอินเดียต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่า 10 ปีแล้ว
2. ปลูกโดยต่อตาทาบกิ่ง แบบนี้จะให้ผลเร็ว กล่าวคือซื้อกิจการบริษัทท้องถิ่นมาเป็นของตัวเอง ไม่ต้องเสียเวลาฟูมฟัก แถมอาจจะได้ประสบการณ์ทำงาน ที่สามารถประมูลได้เองในหลายๆโครงการแถมมาอีกด้วย ส่วนงานไหนต้องการทำ แต่ไม่มีประสบการณ์ก็ JV กับบริษัทแม่ต่างประเทศ ITD คือตัวอย่างของความสำเร็จตามแนวทางนี้หลังซื้อกิจการ Skanska Cementation India Ltd หรือ ITD Cementation India Ltd = ITDCem ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดกลาง และดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นปี 2005 ทั้งโดยตัวเอง และ JV กับ ITD เมืองไทย ที่ภายใน 5 ปี ITDCem จากบริษัทที่มี Turnover หรือรายได้เพียง 5000 กว่าล้านรูปีต่อปี กลายเป็นประมาณ 18000 ล้านรูปี ต่อปี ณ ปลายปี 2009 นี้
อย่างไรก็ตาม สูตรข้างต้น ก็ไม่ได้การันตีว่าทุกรายที่ทำตามแล้วจะเกิดความสำเร็จ เพราะจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ปัญหาในอินเดียเป็นปัญหาเฉพาะที่อาศัยกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญของความสำเร็จด้วย ซึ่งจะได้ทะยอยเรียบเรียงมาเล่ากันต่อไป
ประเทศที่มีศักยภาพ และเป็นเป้าหมายของบริษัทก่อสร้างทั่วโลกหลักๆก็ไม่พ้น จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆในทวีปเอเชีย ซึ่งรวมประเทศเพื่อนบ้านของไทยด้วย แต่เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นประเทศขนาดเล็ก อัตราโตแม้จะมีเปอร์เซ็นต์สูงแต่หากพิจารณาในแง่ปริมาณเนื้องาน ก็คงไม่มากพอ ต่อความต้องการของผู้รับเหมาไทยทั้งหมด หรือหากรวมคู่แข่งต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก
ด้วยเหตุนี้ ทางเลือกจีน กับ อินเดีย จึงเป็นคำตอบ ของผู้รับเหมาไทยที่จะต้องพิจารณา แต่หากเพิ่มปัจจัยความสามารถในการแข่งขันมาพิจารณาด้วยแล้ว อินเดียยิ่งเป็นคำตอบสุดท้ายของทางเลือก เพราะบริษัทไทยมีโอกาสน้อยมากที่จะบุกไปชนะผู้รับเหมาจีนในถิ่นของเขาเองได้
ยุทธศาสตร์ความสำเร็จในอินเดีย
ด้วยเป็นประเทศมีขนาดใหญ่ทั้งขนาด และประชากร ความหลากหลายของเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ภาษา และชนชั้นวรรณะ ทำให้แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาของอินเดีย มีลักษณะเฉพาะที่ประเทศอื่นๆเข้าใจยากมาก ความไม่แน่นอนกลายเป็นความแน่นอนที่สุดในอินเดีย เงื่อนไขข้อตกลง สัญญา กำหนดนัด พร้อมที่จะเปลี่ยนไปได้เสมอเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ด้วยสมมติฐานที่ว่า เงื่อนไขได้เปลี่ยนไปจาก ตอนที่ได้ทำข้อตกลง สัญญา หรือตอนทำนัดกันแล้ว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องยากมากที่ชาวต่างชาติจะเรียนรู้และเข้าใจได้ในช่วงสั้นๆของการทำธุรกิจ เพราะลักษณะเฉพาะนี้ของอินเดียได้ตกผลึกมากว่า ๓๐๐๐ ปี หากศึกษาประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าแม้ว่าช่วงหนึ่งของหน้าประวิติศาสตร์อินเดียอาจจะมีคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (สมัยอโศกมหาราช) หรือตามมาด้วยยุคมุสลิมเรื่องอำนาจ (สมัยราชวงศ์โมกุล) แต่เมื่อหมดสมัยและกาลเวลาผ่านไป อินเดียก็กลับมาเป็นประเทศฮินดูเหมือนเดิมเช่นก่อนพุทธกาล ซึ่งนั่นแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในความเชื่อของคนอินเดีย เป็นไปยากมาก การทำธุรกิจกับคนอินเดีย จึงต้องได้คนที่มีปรัชญาการคิดเหมือนคนอินเดียเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ความสำเร็จของการทำธุรกิจในอินเดีย จึงต้อง “ ได้คนอินเดียที่ไว้ใจได้มาทำงานแทนเราและเพื่อผลประโยชน์เราจริงๆ” เท่านั้น
หากพิจารณาจาก ๒ ช่องทางหลัก ที่หลายๆบริษัทใช้เป็นช่องทางในการไปทำงานในอินเดีย คือ
๑. ไปประมูลงานเองเดี่ยวๆ
๒. Joint Venture กับบริษัทท้องถิ่น
ช่องทางที่ดีกว่าคือการ JV กับบริษัทท้องถิ่นเพราะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน บริษัทท้องถิ่นจะสามารถช่วยเราได้ และหากได้บริษัทท้องถิ่นที่ดีและไว้ใจได้จริงๆ หากมีปัญหาระหว่างกันก็จะสามารถหาข้อสรุปได้ง่ายกว่า และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
แต่การร่วมทุนหรือ JV กับบริษํทท้องถิ่นก็แค่พาราเซ็ดตาม่อน เท่านั้น คือแค่บรรเทาปวดหัวตัวร้อน ได้ระดับหนึ่ง คือแก้ปัญหาภายนอกที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันได้ แต่โรคภายในซึ่งร้ายแรงกว่าจะแก้ไขยาก เพราะทีมเวิร์กที่ประกอบด้วยคนต่างวัฒนธรรม การอยู่ และการทำงาน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะมาตรฐานการทำงาน ที่แต่ละฝ่ายคาดหวัง คนไทยอาจจะเห็นว่าควรทำได้ดีกว่านี้เพราะตัวเองเคยทำได้มาแล้ว แต่อินเดียเห็นว่าทำได้แค่นี้ก็มากที่สุดและเป็นที่พอใจแล้วเพราะปรกติทำได้อัตราต่ำกว่านี้ เป็นต้น ถึงตรงนี้มักจะถึงทางตัน และสุดท้ายไม่แยกทางกัน ก็จับมือกันขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะหาทางออกที่ปรองดองกันไม่ได้ เท่าที่เห็นไม่เคยเห็น JV ไหนที่อยู่กันยืดเกิน 2 โครงการ สุดท้ายก็แตกหัก ตัวใครตัวมัน JV partner ต่างชาติก็กลับบ้าน ส่วนบริษัทอินเดียก็เสาะแสวงหา Partner รายใหม่ ไปอีกเรื่อยๆ
รูปแบบการทำงานในอินเดียที่ให้ได้ผลจริงๆ จึงทำอย่างไรให้บริษัทท้องถิ่น เป็นของเราเอง เพราะเราจะได้พนักงานอินเดียที่เป็นคนของเราและทำงานให้ (บริษัท) เราอย่างจริงจัง และจริงใจอย่างที่กล่าวข้างต้น ซึ่งหากเปรียบการก่อตั้งบริษัทในอินเดีย เป็นเหมือนการปลูกต้นไม้ ก็จะมีวิธีปลูกอยู่ 2 รูปแบบคือ
1. ปลุกโดยใช้เมล็ด คือไปจดทะเบียนสร้างบริษัทตั้งแต่แรก แล้วค่อยๆฟูมฟักรักษาบริษัทให้โตขึ้น ช่วงแรกๆก็ JV กับบริษัทแม่ต่างประเทศในการประมูลงาน ผ่านไปหลายปีมีประสบการณ์เอง ก็ประมูลด้วยตัวเองได้ ที่เห็นประสบความสำเร็จด้วยวิธีนี้ คือบริษัท IJM ของประเทศมาเลเซีย หรือบริษัทเครือ ซีพี ของไทยเราเอง ที่ต่างก็ทำงานในอินเดียต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่า 10 ปีแล้ว
2. ปลูกโดยต่อตาทาบกิ่ง แบบนี้จะให้ผลเร็ว กล่าวคือซื้อกิจการบริษัทท้องถิ่นมาเป็นของตัวเอง ไม่ต้องเสียเวลาฟูมฟัก แถมอาจจะได้ประสบการณ์ทำงาน ที่สามารถประมูลได้เองในหลายๆโครงการแถมมาอีกด้วย ส่วนงานไหนต้องการทำ แต่ไม่มีประสบการณ์ก็ JV กับบริษัทแม่ต่างประเทศ ITD คือตัวอย่างของความสำเร็จตามแนวทางนี้หลังซื้อกิจการ Skanska Cementation India Ltd หรือ ITD Cementation India Ltd = ITDCem ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดกลาง และดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นปี 2005 ทั้งโดยตัวเอง และ JV กับ ITD เมืองไทย ที่ภายใน 5 ปี ITDCem จากบริษัทที่มี Turnover หรือรายได้เพียง 5000 กว่าล้านรูปีต่อปี กลายเป็นประมาณ 18000 ล้านรูปี ต่อปี ณ ปลายปี 2009 นี้
อย่างไรก็ตาม สูตรข้างต้น ก็ไม่ได้การันตีว่าทุกรายที่ทำตามแล้วจะเกิดความสำเร็จ เพราะจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ปัญหาในอินเดียเป็นปัญหาเฉพาะที่อาศัยกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญของความสำเร็จด้วย ซึ่งจะได้ทะยอยเรียบเรียงมาเล่ากันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น