วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

รู้จักระบบภาษีอินเดีย

การทำธุรกิจในอินเดีย ประการหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีกุนซือหรือที่ปรึกษาที่ดี โดยเฉพาะเรื่องภาษี เพราะอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบภาษียุ่งยากซับซ้อนมาก 26 รัฐ 8 เขตปกครองพิเศษ ต่างก็ปกครองด้วยรัฐบาลท้องถิ่นต่างพรรคกันไป กฎระเบียบต่างๆจึงขึ้นกับนโยบายของแต่ละพรรคที่ปกครองรัฐนั้นๆ รวมทั้งพิกัดภาษีที่อาจจะต่างกันด้วย ยิ่งวิธีการปฏิบัติยิ่งไปกันใหญ่ การปฏิบัติอย่างหนึ่งสำเร็จในรัฐหนึ่ง ไปอีกรัฐหนึ่ง ปฏิบัติอย่างเดียวกันอาจจะไม่ได้ผลก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีต้องใช้กุนซือครับ บางครั้งกุนซือเดียวไม่พอ อาจจะต้องกุญซือ 2 หรือ 3 เพื่อให้มั่นใจว่าปฏิบัติถูกต้อง


อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีความยุ่งยากในการปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เกินความสามารถครับ อย่าลืมว่า ไม่ใช่เฉพาะเราคนเดียว (ซะเมื่อไร) บริษัทอื่นๆทั้งต่างชาติและบริษัทในประเทศอื่นๆ (ที่อยู่ในอินเดีย) ต่างก็ทำธุรกิจอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นจงเรียนรู้ว่าบริษัทอื่นเขาทำสำเร็จได้อย่างไร เราก็ทำอย่างเดียวกันนั่นแหละครับ หากเป็นการศึกษา แม้เราอาจจะเป็นประเภทศึกษาผู้ใหญ่หรือ กศน. อะไรประมาณนั้น ที่เพิ่งมาเรียนเอาตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ก็มีเยอะแยะไปครับที่จบ กศน.แล้วสามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยและสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ เช่นเดียวกันกับการเรียนภาคปรกติตามขั้นตอนมาตั้งแต่เด็ก เพราะฉะนั้นอย่าท้อครับ
ลองมาดูกันว่าที่ว่าระบบภาษีของอินเดียยุ่งยากนั้น มีอะไรบ้าง ผมขออนุญาตคัดและลอกมาแบบเต็มๆโดยไม่มีการแก้ไขใดๆ จาก เว็บไซท์ของ สำนักยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ดังนี้ครับ
โครงสร้างระบบภาษี(INDIA)
โครงสร้างภาษีของอินเดีย แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.ระดับรัฐบาลกลาง (Union Government) มี 4 รายการ
2.ระดับรัฐบาลรัฐ (State Governments) มี 6 รายการ
3.ระดับองค์กรท้องถิ่น (Local Authorities) มี 3 รายการ

1. ระดับรัฐบาลกลาง ได้แก่
1.1
Value Added Tax (VAT)
1.2 Central ExciseDuty
1.3
Customs Duty
1.4 Income Tax ได้แก่
Personal Income Tax และ Corporate Income Tax


2. ระดับรัฐบาลรัฐ ได้แก่
2.1 Intra-State Sales & Service Tax เป็นภาษีที่เก็บจากการซื้อ-ขายสินค้าและบริการที่อยู่ในรัฐ
2.2 Inter-State Tax เป็นภาษีผ่านรัฐ
2.3 State Excise Tax เก็บเฉพาะรายการสินค้าแอลกอฮอล์
2.4 Stamp Duty เก็บจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
2.5 Land Revenue เก็บจากการใช้ที่ดินการเกษตร และไม่ใช่เกษตร
2.6 Entertainment & Profession Tax


3. ระดับองค์กรท้องถิ่น ได้แก่
3.1 Property Tax เก็บจากอสังหาริมทรัพย์ Properties เช่น อาคาร ตึกต่างๆ
3.2 Octroi Tax เก็บจากสินค้าเพื่อบริโภคหรือใช้ ที่เข้าในพื้นที่ของท้องถิ่น
3.3 Utility Tax เก็บจากการใช้สาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า

สนธิสัญญาด้านภาษีระหว่างประเทศ (Tax Treaties)
สนธิสัญญาทางภาษีระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า Double Taxation Avoidance Agreement (DTAA) เป็นเงื่อนไขทางการเก็บภาษีและอัตราภาษีที่เรียกเก็บระหว่างประเทศ มีขึ้นเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนของบุคคลที่มีธุรกรรมข้ามประเทศ ซึ่งจะส่งผลลบต่อการขยายการค้าระหว่างประเทศ การเคลื่อนย้ายทุน การลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

ปัจจุบันอินเดียมีการลงนามกับประเทศต่างๆ มากกว่า 65 ประเทศทั่วโลก โดยไทยและอินเดียได้มีการลงนามในสนธิสัญญาภาษีระหว่างกันในปี 1988

อัตราภาษีรายการสินค้าเร่งลดภาษี 82 รายการ ภายใต้ FTA ไทย-อินเดีย
การเจรจาการค้าเสรีไทย-อินเดีย ได้มีการลงนามในพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2004 โดยกำหนดให้มีการเร่งลดภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest Scheme : EHS) จำนวน 82 รายการ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2004 ทั้งนี้การลดภาษี MFN applied rates จะใช้อัตราฐาน ณ วันที่ 1 มกราคม 2004 โดยลดเป็นอัตราร้อยละของอัตราภาษีที่เรียกเก็บ (Margin of Preference: MOP) ซึ่งทำให้อัตราภาษีนำเข้าจะลดลงเหลือ 0 ตั้งแต่ 1 กันยายน 2006 เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น