วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ลำดับขั้นความก้าวหน้าในการทำงานของอินเดีย

วันก่อนเล่าให้ฟังว่าสังคมคนทำงานอินเดียยังยึดติดกับระบบชั้นวรรณะอยู่พอสมควร ดังนั้นจงพึงสังวรณ์ว่าการติดต่อ เจรจาความเมืองใดๆกับคนอินเดีย โดยแต่ละฝ่ายอยู่ในสถานะเท่ากัน (ไม่มีใครต้องการประโยชน์จากใครเป็นพิเศษ) หากคุณไม่มีตำแหน่งเป็นที่น่าเชื่อถือปรากฎบนนามบัตรแล้วละก้อ คุณจะไม่มีทางได้พบหรือเจรจากับผู้มีอำนาจของบริษัทอินเดียนั้นโดยเด็ดขาด (มีข้อยกเว้นบ้าง ผมถือว่าน้อยมาก) อย่างมากถือเป็นการให้เกียรติแก่คุณ ก็แค่คนที่มีตำแหน่งสูงกว่าคุณสักขั้นหนึ่งที่จะมาต้อนรับและหารือด้วย แค่นั้นเอง

ลองมาดูว่าการจัดลำดับชั้นหรือขั้นของสังคมคนทำงานอินเดียนั้น เขาลำดับกันอย่างไร ชั้นหรือขั้นที่ว่านี้ต่างกับตำแหน่งนะครับ เพราะแต่ละบริษัท หรือแต่ละประเภทธุรกิจ อาจจะแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน แต่ชั้นหรือขั้นนี้โดยทั่วไปจะเหมือนๆกัน ดังนั้นโดยทั่วไปนามบัตรของคนอินเดีย จะระบุทั้งขั้นและตำแหน่งหน้าที่ไว้ด้วย เพื่อให้รู้ว่าคนๆนั้นลำดับชั้นสูงแค่ไหนและทำหน้าที่อะไร เช่น VP-Marketing, Sr.Manager-Estimation คำแรก VP = Vice President และ Sr.Manager = Senior Manager คือลำดับชั้น ส่วน Marketing และ Estimation คือตำแหน่งหรือหน้าที่ เหล่านี้เป็นต้น
ลำดับชั้นหรือขั้น ความอาวุโส และเงินเดือนเฉลี่ย ผมลองเทียบให้ดู โดยเรียงจากสูงลงไปหาต่ำ จะได้ดังนี้

หมายเหตุตารางข้างต้น

  • Rank ข้างต้น อาจจะแตกต่างจากนี้ได้สำหรับบางบริษัท ที่อาจจะเพิ่มหรือตัดตำแหน่ง ระหว่างแต่ละRank ได้ เช่น จาก VP อาจจะไม่มี Sr.VP แต่กระโดดไปเป็น EVP หรือ Director เลยก็ได้
  • อายุเฉลี่ยที่ให้ไว้ เพื่อให้เห็นภาพเท่านั้นเอง ไม่ได้ตายตัวว่าจะเป็นตามนั้นเสมอไป
  • CTC = Cost to company คือ Gross ที่บริษัทต้องจ่ายออกให้พนักงานทั้งหมด หน่วยเป็นรูปีต่อเดือน ซึ่งทั่วไปจะประกอบด้วย Basic, Cash allowance และ Allowance ในรูปอื่น รวมทั้ง Statutory payment ที่บริษัทต้องจ่ายตามกฎหมาย 3 รายการคือ Provident Fund = PF, Superannuation & Gratuity (เบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 31% ของ Basic) ตัว CTC นี้จะไม่รวม Variable payment ประเภท Performance Bonus/Incentive เท่านั้น
  • เกรดของแต่ละตำแหน่งในความเป็นจริงอาจจะเป็น A, B, C, D & E แต่แสดงให้ดูเพียง 3 เกรดเท่านั้น

ส่วนการโปรโมทในแต่ละขั้นปรกติจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ

  • Potential หรือศักยภาพ ที่จะโตขึ้นไปอีกขั้นและรับผิดชอบภาระที่สูงกว่าและเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
  • Performance หรือผลงาน ในรอบปีที่ผ่านมาว่าจากงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน

หากเกรดดีทั้ง 2 ข้อ เข้าข่ายพนักงานเกรด A ก็อาจจะได้เลื่อนขั้น หาก 1-2 ปีที่แล้วยังไม่ได้เลื่อนขั้น หรือหากเป็นพนักงานเกรด B ก็จะได้เลื่อนขั้นหาก 2-3 ปีผ่านมายังไม่ได้เลื่อนขัน หรือพนักงานเกรด C จะได้เลื่อนขั้นหาก 3-4 ปีผ่านมายังไม่ได้เลื่อนขั้น พนักงานเกรดต่ำลงไป ก็จะมีหลักการคิดคล้ายๆกัน ลงไปเรื่อยๆ

และการขึ้นเงินเดือน จะขึ้นตามลำดับชั้นหรือขั้นนี้ โดยไม่ได้คำนึงถึงอายุจริงหรือปีที่จบการศึกษาจริงมาเป็นตัวตัดสิน ตัวอย่างเช่น
  • VP ปรับขึ้น 20,000/
  • Sr.GM ปรับขึ้น 18,000/
  • GM ปรับขึ้น 15,000/
  • DGM ปรับขึ้น 12,000/
  • AGM ปรับขึ้น 10,000/
  • Sr.Manager ปรับขึ้น 8,000/
  • Manager ปรับขึ้น 6,000/

อ่านมาถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจแล้วนะครับตัวเราเองน่าจะอยู่ในตำแหน่งใด และหากจะต้องแต่งตั้งบุคคลไปเป็นตัวแทนบริษัท เพื่อไปทำงานในอินเดียควรจะโปรโมทเขาให้มีลำดับชั้นหรือขั้นอย่างไร หรือ ตำแหน่งหน้าที่อย่างไร เพื่อจะมีน้ำหนักในการเจรจาแทนบริษัทเราได้

สำหรับคนอินเดียแล้ว ตำแหน่งของคนไทยเราไม่ว่า Project Manager หรือ Senior Engineer ยิ่ง Project Engineer ด้วยแล้วนี่ อินเดียเขาไม่ทราบหรอกครับว่าอยู่ระดับไหน และใหญ่แค่ไหน ทั่วไปก็จะตีต่ำไว้ก่อน คนอินเดียจะเหมือนระบบทหารคือยึดถือความอาวุโสตามลำดับชั้น ไม่ใช่อายุ ดังนั้น อาจจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เป็นไปได้เสมอๆ ที่ทีมไทยที่ประกอบด้วยสมาชิกอาวุโส (อายุ) เป็นส่วนใหญ่ แต่กลับไม่ได้รับการต้อนรับ หรือให้ความสำคัญ จากทีมอินเดีย (ที่เราไปประชุมด้วย) เท่าที่ควร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น