วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อินเดียออกมาตรการเข็มงวดแรงงานต่างชาติ

จากเหตุการณ์วันที่ 23 กันยายน 2509 ที่เกิดการพังถล่มของปล่อง Chimney โรงไฟฟ้าในรัฐ Chhattisgarh ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างโดยบริษัท Shandong Electric Power Corporation ที่ไปรับสัญญาจ้างต่อมาจาก Bharat Aluminum Ltd บริษัทลูกในอินเดีย ของยักษ์ใหญ่อลูมิเนียม Vedenta ของ UK อีกต่อหนึ่ง เป็นผลให้มีคนงานตายไปประมาณ 41 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศจีน ที่บริษัท Shandong ว่าจ้างไปก่อสร้างงานนี้

ถัดจากนั้น 2 วัน กระทรวงมหาดไทย (Home Affairs) ก็ได้ออกคำสั่งด่วนที่ 25022/52/09-F.iV ลงวันที่ 25 กันยายน 2509 แจ้งแก่ Home Secretaries ของทุกรัฐรวมทั้ง FRRO=Foreign Regional Registration Officers ของเมืองใหญ่ 5 เมืองคือ Delhi, Kolkata, Mumbai, Chennai และ Amritar เพื่อปรับปรุงคำสั่งก่อนนี้ว่าด้วยเรื่องการออกวีซ่าให้ชาวต่างชาติ
สาระหลักของคำสั่งนี้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัทก่อสร้างที่จะนำแรงงานไปทำงานในอินเดียคือ

  1. ชาวต่างชาติผู้ใด ที่ทำงานอยู่ตามโครงการต่างๆและถือ Business Visa จะต้องออกนอกประเทศอินเดียทันที ภายใน 31 ตุลาคม 2009
  2. ชาวต่างชาติที่ทำงานยังโครงการต่างๆ จะต้องถือ Employment Visa เท่านั้น
  3. Employment Visa ที่จะออกให้แรงงานต่างชาติไปทำงานในอินเดียได้ จะต้องเป็นแรงงานฝีมือที่ขาดแคลนในอินเดียเท่านั้น
จากคำสั่งดังกล่าว ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงหากบริษัทไทย หากต้องการนำแรงงานไทยไปก่อสร้างงานในอินเดีย ก็คือข้อ 3 ที่จะทำอย่างไรจึงจะให้สถานฑูตอินเดียในประเทศไทยออก Employment Visa ให้แก่แรงงานไทยได้โดยไม่มีปัญหา

ผมมีคำแนะนำในเรื่องนี้ดังนี้

  1. จัดทำแผนการใช้กำลังคนของโครงการ (Manpower Mobilization Schedule)
  2. กำลังคนตามข้อ 1. จะต้องแยกประเภทแรงงานให้ชัดเจน เช่น ช่างเชื่อมฝีมือ (Qualified Welder) จำนวน 30 คน, ช่างไม้ฝือมือ (Carpenter) จำนวน 500 คน, ช่างประกอบโครงเหล็ก (Fabricator) จำนวน 200 คน ฯลฯ
  3. จะต้องระบุในแผนการใช้แรงงานข้อ 1. ให้ชัดเจนว่า แต่ละประเภทแรงงานตามข้อ 2. เป็นแรงงานจากประเทศไทยกี่คน และเป็นแรงงานท้องถิ่นอีกกี่คน
  4. จากนั้นให้ทำหนังสือแจ้งผู้ว่าจ้าง ขออนุมัติจัดแรงงานตามแผนดังกล่าวต่อไป
  5. เมื่อได้รับหนังสืออนุมัติจากผู้ว่าจ้างแล้ว หนังสือดังกล่าวจะเป็นใบเบิกทาง ที่จะใช้รวมกับเอกสารทั่วไปเพื่อขอ Employment Visa จากทางสถานฑูตได้
  6. เมื่อทราบชื่อแรงงานที่จะไปงานที่อินเดีย ก็ทำการจัดทำ Passport ให้คนงานดังกล่าว และยื่นเรื่องขอวีซ่าทำงาน ตามโควต้า ที่ระบุในหนังสือตามข้อ 4 จนครบจำนวนคนที่ได้รับอนุมัม
ตอนบริษัทฯส่งผมไปทำงานที่ประเทศบรูไนเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ตอนนั้นก็ทำในวิธีเดียวกันนี้ และผมจำได้ว่าตอนนั้นผมได้ Employment Visa ในโควต้า “Plumber”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น