วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดูงานพร้อมเที่ยวเมือง Lagos ไนจีเรีย

ผมมีภาระกิจจำเป็นที่ต้องเดินทางไปดูงานที่ไนจีเรียประเทศที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของทวีปอัฟฟริการะหว่าง 20-24 มิ.ย. ถือเป็นการเดินทางไกลจริงๆอีกครั้งเพราะเบ็ดเสร็จแล้วก็ประมาณ 16ชม. เริ่มตั้งแต่เครื่องออกเดินทางจนถึงจุดปลายทางที่หมาย

จุดประสงค์การเดินทางครั้งนี้ก็เนื่องจากได้รับเชิญให้ไปประมูลงานโครงการหนึ่งที่นั่น ซึ่งเป็นงานที่บริษัทเป็นผู้ชำนาญการงานด้านนี้อยู่ จึงต้องการไปดูบรรยากาศการทำงาน และสภาพประเทศให้เห็นกับตาตัวเองว่าควรจะทำงานนี้หรือไม่ บันทึกการเดินทางครั้งนี้จึงเหมือนทั้งเที่ยวพร้อมทำงานไปด้วย จุดประสงค์เพื่อให้เห็นบรรยากาศที่แท้จริงของไนจีเรียครับ

ศุกร์ 20 มิ.ย. 14 ผมเดินทางออกจากสนามบินมุมไบ ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้ก่อสร้างขยายจากที่เดิมเสียโอ่อ่า สมราคาไม่แพ้สุวรรณภูมิของเรา

สนามบินนานาชาติมุมไบอาคารใหม่
21:40 น. โดยสายการบิน Etihad Airway ได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่อาบูดาบี รัฐหนึ่งของประเทศสหรัฐอาหรับอิมีเรต เพื่อไปต่อเครื่องที่นั่น ไป Lagos ของไนจีเรียอีกต่อนึง เนื่องจาก ยังไม่มีสายการบินตรงจากอินเดียไปไนจีเรีย ที่จริงมีเมืองให้ต่อเครื่องหลายเมือง ในประเทศอาหรับ ก็อาจจะผ่านดูไบ อาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับอิมีเรต หรือโดฮาของกาตาร์ หรือในอัฟริกาก็มีให้เลือก โยฮันเนสเบิร์กของเซ้าท์อัฟริกา หรือไนโรบี ของเคนยา แต่ผมเลือกผ่านอาบูดาบี เพราะคิดว่าน่าจะสะดวกกว่าเมืองอื่นๆ

สภาพภายในเครื่องบิน
นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเดินทางโดย Etihad Airway ซึ่งเป็นสายการบินของรัฐอาบูดาบี ค่อนข้างสะดวกสบายพอสมควรโดยเฉพาะชั้นธุรกิจ พนักงานบริการส่วนใหญ่นานาชาติ มีทั้งฟิลิปปินส์ พม่าและก็คงยุโรปเพราะหน้าตาและผมเผ้าออกไปทางฝรั่งเกือบทั้งหมดแต่ผมแยกไม่ออกว่าเป็นชาติใดมั่ง การบริการบนเครื่องพร้อมอาหารเรียกว่าดีมาก มีให้เลือกได้ตลอดเวลาอย่างกะปรุงสดๆจากเตา ทั้งอาหารเช้า อาหารเที่ยง มื้อค่ำ อาหารว่างตลอด 10 ชม. ที่อยู่บนเครื่องทั้ง 2 ช่วง เรียกว่าหากไม่นอน ก็กินได้เรื่อยๆ (ขณะที่เขียนบทความนี้ คือตอนขากลับที่ได้ใช้บริการเต็มๆ) เนื่องจากการเดินทางข้างหน้ายังอีกหลายชั่วโมง และเวลาออกค่อนข้างดึกพอสมควรแล้ว หลังทานเครื่องดื่มเล็กน้อย ผมก็เตรียมตัวงีบอย่างเดียว
อาหารบริการบนเครื่อง
12:00น.หรือเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น (ช้ากว่าเวลาอินเดีย 1.5ชม) เครื่องถึงอาบูดาบี เบ็ดเสร็จประมาณ ชม.ตามกำหนดจะต้องเปลี่ยนเครื่องและออกอีกทีจากอาบูดาบีเวลาตี 2 ครึ่ง เนื่องจากแค่เปลี่ยนเครื่องไม่ต้องออกไปนอกสนามบินจึงมีเวลาเดินดูอะไรเล็กน้อยที่สนามบิน จากสำรวจเคร่าๆแม้สนามบินอาบูดาบีจะเล็กกว่าของดูไบ แต่ความสวยงามร้านรวงก็มีไม่แพ้กันพอให้ถลุงกระเป๋าท่านเล่นได้ เดินสำรวจได้สักพักก็ตัดสินใจหาที่งีบ เพราะเดินทางรอบต่อไปประมาณ 7ชม. ยิ่งไปถึงตอนเช้าตรู่ คงไม่มีเวลางีบเท่าไรแล้วหลังจากนั้น
ภายในสนามบินรัฐอาบูดาบี
ขึ้นเครื่องได้อีกครั้ง ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรอีกแล้วปรับที่นอนจัดแจงหมอนผ้าห่ม ก็หลับยาวรวดเดียว 5ชม. ถูกปลุกมาถามอาหารเช้ารับมั๊ยค่ะ ไหนๆก็ไหนๆไม่หิวก็ต้องทาน เพราะข้างหน้าไม่รู้จะเป็นอาหารแบบไหน นี่คือทฤษฎีนักเดินทางโดยเฉพาะหากไปประเทศที่เราไม่คุ้น อย่าหวังข้างหน้า ดังนั้นหากมีให้กินและกินได้ชัวร์ๆต้องสอยไว้ก่อนครับ เดินทางแบบผมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องงานสถานที่ไปจะเป็นที่ก่อสร้างนอกเมือง เข้าป่า สถานที่ธุรกันดาร บ่อยครั้งที่ไม่ได้ทานอาหารทั้งวัน เพราะไม่มีที่ให้ทานหรือมีให้ทานก็ทานไม่ลงจริงๆ

อาหารเช้าบนเครื่องมีให้เลือกหลายเมนูหลายสไตล์ หนักเบาแล้วแต่ชอบ มื้อนี้ผมขอเบาๆ ผลไม้ กาแฟ วัฟเฟิ่ลราดช้อกโกเล็ต อร่อยครับ แม้ตื่นขึ้นมาโดยไม่ได้ล้างหน้าแปรงฟันก็ตาม
อาหารเช้าบนเครื่อง
เสาร์ 21.06.14 เวลา 7:30น. เวลาท้องถิ่นไนจีเรียเครื่องก็ถึง Lagos เนื่องจากวาดภาพในใจไว้พอสมควรแล้วว่าเรื่องความสะดวกสบายคงไม่เท่าไร เจอสนามบินของจริงก็ไม่ได้เหนือการคาดหมายครับ ขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองไม่ถึงกับยุ่งยาก มีเจ้าหน้าที่พยายามอำนวยความสะดวกให้ ดูความตั้งใจแล้วผมว่าแม้คนไนจีเรียตัวดำ ดูน่ากลัวแต่หากสำผัสและได้คุยกับเขาแล้วผมว่าคนเขามีจิตใจดีพอสมควร ตรงไปตรงมามากกว่าอินเดีย 

สภาพภายในสานมบินเมือง Lagos ขณะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและขณะรอรับกระเป๋า
ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองออกไปรอกระเป๋า ก็ลุ้นพอสมควรเพราะเคยมีประสบการณ์มาแล้วหลายปีก่อนที่มีการต่อเครื่องแบบนี้ ที่ปลายทางเยอรมัน ปรากฎว่าถึงแต่คนแต่กระเป๋าไม่ถึง ท่ามกลางอากาศหนาวต้องนอนในสภาพนั่นไปทั้งคืนโดยกระเป๋าได้รับหลังจากนั้นอีก 1 วัน แต่เที่ยวนี้ปรากฎว่ากระเป๋ามาตามกำหนดไม่นานนัก เข็นกระเป๋าออกมาเริ่มได้กลิ่นอายไนจีเรีย ประเทศแห่ง Scam ตามโลกออนไลน์เมื่อคุณผู้หญิงขอเรียกตรวจกระเป๋า ไหนขอดู yellow card หน่อยดิ ผมยื่นให้ทั้ง yellow card ทั้ง Pink card หรือการ์ดแสดงว่าได้ฉีดวัคซีนไข้เหลืองและโปลีโอมาแล้ว ไปอัฟริกาอย่าลืม 2 โรคนี้ครับต้องป้องกันไว้ก่อน ยื่นเสร็จคุณเธอก็ถามหา Gift เอ๊ะขอกันตรงๆโดยไม่อ้อมค้อม ผมก็ตอบว่าไม่มี พร้อมยิ้มหล่อให้ไปนึงทีเธอเลยให้ผ่าน คงไม่รู้จะเอาผิดอะไรได้ ผ่านมาได้อีกนิดทีนี้คุณผู้ชายตัวอย่างกะยักษ์เรียกไปซักอีกรอบ ในกระเป๋ามีอะไรมั่ง เสื้อผ้าเท่านั้น นอกนั้นก็อุปกรณ์กล้อง ประเทศยูทัศนียภาพสวยดี ไอเลยเตรียมกล้องมาอย่างดีจะได้ถ่ายไปเผยแพร่ให้โลกเห็น ผมตอบพร้อมคุยโม้ไปตามเรื่อง ไม่มีโคเคนนะ มันพยายามจะแหย่เผื่อผมติดกับดัก จะดูมั้ยไอจะรื้อออกให้ดูก็ได้ ผมตอบ พร้อมคิดในใจหน้าตาตูนี่นะขี้ยา สุดท้ายเห็นทีคงไม่ได้ตังค์จากผมแน่ๆแล้วก็เลยให้ผ่านออกไปได้โดยไม่ได้ตรวจกระเป๋าแต่อย่างใด

สภาพสนามบินเมือง Lagos ภายนอก
ขนาบซ้าบขวาคือสองคนที่มารับ
มีเคล็ดลับสำหรับนักเดินทางครับ หากคุณอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น จงใจเย็นๆตอบคำถามด้วยถ้อยคำสุภาพเท่าที่จำเป็น อย่าทำเป็นคนอวดรู้หรือว่ายิ่งใหญ่และพยายามอ้างคนโน้น คนนี้ว่าตนรู้จักเพื่อให้เขาเกรงใจ คนเหล่านี้เหมือนตำรวจจราจรบ้านเรา พูดมากเท่าใดดีไม่ดีจำนวนคดีจะเพิ่มมากเท่านั่น หากเราพยายามพูดด้วยอัธยาศัยดี ชมประเทศเขา ชมตัวเขา เดี๋ยวเขาไม่รู้จะเอาผิดอะไรเราก็ปล่อยเราเอง

ออกมานอกสนามบินได้ก็เจอพ่อเงาะอีก 2 คนที่มารับยืนยิ้มเห็นแต่ฟันขาวแต่ไกล เขาบอกว่ารอแป้บเดียวจะเรียกรถมา ปรากฎว่าจุดจอดรถอยู่ตั้งไกล กว่าจะมารับได้ปาไปเกือบ 30นาที 2 คนที่ว่านี้เป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทหนึ่งที่เคยติดต่อด้วย เขาประจำอยู่เซ้าท์อัฟริกา แต่เป็นคนไนจีเรีย เขานั่งเครื่อง 6ชม. จากโยฮันเนสเบิร์กไป ลากอสเพื่อมาอำนวยความสะดวกแก่เราทริปนี้โดยเฉพาะ

จากสนามบินเดินทางเข้าเมืองลากอสใช้เวลาประมาณ 45นาที ผ่านสะพานข้าม Lagoon ที่ยาวที่สุดในทวีปอัฟริกา
สะพานข้าม Lagoon ที่ยาวที่สุดในไนจีเรียและทวีปอัฟริกา
ไปยังที่พักที่จองไว้ที่ Radison Blu Anchorage Hotel มีหลายโรงแรมที่ดีกว่าโรงแรมนี้ แต่ผมเลือกโรงแรมนี้เพราะตั้งอยู่ฝั่ง Lagoon หรือทะเลสาบของเมืองลากอส

ด้านหน้าที่พักโรงแรม Radison Blu Anchorage 
บรรยากาศดีมากๆครับ โดยเฉพาะในยามเย็นที่มีเทอเรส เป็นบาร์ และภัตราคารให้นั่งแฮ้งเอ้าท์มองพระอาทิตย์ตกดิน และเรือเร็วทั้งเรือยอร์ชขนาดเล็กวิ่งล่องทะเลสาบไปมา
สภาพด้านหลังโรงแรมติด Lagoon มีร้านอาหารและบาร์ให้นั่งชมบรรยากาศ Lagoon ได้

เก็บสัมภาระเข้าห้องอาบน้ำก็ของีบอีกรอบ ตื่นมาอีกทีตอนบ่ายก็ออกไปนั่งเพื่อหาอะไรทานมื้อเที่ยง (ที่จริงเป็นมื้อค่ำของอินเดีย) ที่บาร์ฝั่ง lagoon.

สภาพร้านอาหารและบาร์ด้านติด Lagoon
ต้องบอกว่าบรรยากาศดีจริงๆดูผู้คนที่ไปใช้บริการ 60%เป็นวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย สไตล์แร๊พเตอร์ทั้งนั้น นุ่งสั้น นุ่งยาว นุ่งน้อยหุ่มน้อยมีให้เห็นครบ จากที่เห็นแต่ชีๆแป๊ะๆมาตลอด มาได้เห็นของแปลก(ตา)ที่ลากอสไนจีเรีย ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบครับ

วัยรุ่นไนจีเรียไม่แพ้วัยรุ่นเมืองไทย

ตอนค่ำก็นัดคุยธุรกิจกันเล็กน้อยกับคนที่เราได้ติดต่อกันมาก่อนล่วงหน้า ก็ใช้สถานที่เดิมเพียงแต่สีสรรมากขึ้น มีนักร้องวงให้ได้ฟัง หรือแม้แต่เต้นรำส่ายสะโพกกันก็ได้ด้วย ต้องบอกว่าหากใครเป็นนักดื่มหรือนักปาตี้ร์ตัวยงคงชอบบรรยากาศแบบนี้แน่นอน ผมเองปลดระวางตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว จึงได้แต่นั่งทาน swab รสมะนาว กะสแน้กเบาๆแค่นั่นเอง คุยเสร็จก็ขอตัวพักเพราะรุ่งเช้าจะเดินทางไปดูงานต่อ

อาทิตย์ 22.06.14 นัดกันทานมื้อเช้า 7:30น. บุพเฟ่ร์โรงแรม ไม่เลวครับ อาหารมีให้เลือกหลากหลาย หลายสไตล์ทั้งฝรั่ง อินเดีย หรือ ไนจีเรียเอง ถือว่าไม่ขัดสนทานได้ตามชอบ

อาหารเช้าแบบบุฟเฟ่ของโรงแรม
8:30น. เดินทางไปดูงานยัง Lekki free trade zone หรือนิคมอุสาหกรรม Lekki ซึ่งทอดยาวกินระยะทางหลายกิโลจากลากอส ขนานไปตามชายฝั่ง เริ่มเข้าเขตนิคมตั้งแต่ 30นาทีแรกที่ขับรถ ไปจนถึงประมาณ 1ชม ที่เป็นจุดหน้างานจริงๆซึ่งเป็นสถานที่ที่จะก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่โดย Dangote Group ซึ่งเป็นนายทุนที่ถือว่ารวยและน่าเชื่อถือที่สุดของทวีปอัฟริกา

เส้นทางไปดูงานที่เขตอุตสาหกรรม Lekki ถนนขับสบายรถไม่ติดเพราะเป็นเช้าวันอาทิตย์
Engineer India limited หรือ EIL เป็นบริษัทของรัฐบาลอินเดียเป็นผู้ได้งานออกแบบและที่ปรึกษาของโครงการนี้ และขณะนี้ได้ทะยอยออกสัญญาจ้างย่อยๆออกมาแล้ว โครงการแรกเป็นงานฐานรากเพื่อทำการปรับปรุงสภาพดินซึ่งเป็นดินอ่อนมากๆโดยวิธีที่เรียกว่า Stone column สำหรับ Tank สำรองน้ำมัน ซึ่งเทคนิคก่อสร้างจะเหมือนทำเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70-90ซม. ลึก 30-40ม. เพียงแต่แทนที่จะเทด้วยคอนกรีตเหมือนเข็มเจาะทั่วไป ก็เทด้วยก้อนหินขนาดต่างๆคละกันแทน งานนี้จะใช้หินทั้งสิ้นประมาณ 5 แสนคิว และทรายถมอีก 1 แสนคิว และ ITDCem ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทชำนาญการงานนี้สนใจและได้รับเชิญให้ร่วมประมูลงานนี้ด้วย
สภาพหน้างานที่กำลังปรับสภาพอยู่
เท่าที่ดูหน้างานต้องยอมรับว่ากลุ่ม Dangote นี้ใหญ่จริง เพราะเท่าที่เห็นเครื่องจักรที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่หน้างานอยู่นั้น ล้วนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานทำเหมืองแร่ทั้งนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ตัวและทั้งหมดซื้อมาใหม่เพื่อการนี้ทั้งสิ้นคำนวนคร่าวๆก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 300ล้านบาทสำหรับเครื่องจักรทั้งหมดนี้ ผู้จัดการสนามและวิศวกรก็เป็นชาวอินเดีย จึงเท่าให้ง่ายต่อการสื่อสารและหาข้อมูลสำหรับโครงการนี้พอสมควร พื้นที่ส่วนใหญ่ 50% ได้ปรับระดับเสร็จแล้ว จากข้อมูลหน้างานทราบว่าจะต้องปรับให้เสร็จภายใน July เดือนหน้าแค่นั้นเองซึ่งดูแล้วก็เห็นว่าเป็นไปได้

เครื่องจักรทำเหมืองที่เจ้าของงานซื้อมาใช้กับโครงการนี้

ดูหน้างานเสร็จร่วมประชุมกับผู้จัดการสนามอีกเล็กน้อยเพื่อรับทราบข้อมูลโครงการต่างๆก่อนเดินทางกลับ ระหว่างทางเห็นคนมุงดูกันขนานใหญ่เลยจอดรถดูก็เห็นปลายักษ์ตามรูปไม่ทราบว่าปลาอะไร ถามคนมุงดูก็บอกว่าทานได้

เห็นชาวบ้านมุงดูปลายักษ์
แต่แค่เห็นก็อิ่มแล้ว
2คนในกลุ่มที่มุงเห็นหน้าตาออกไปทางจีนถามไปถามมาก็จีนจริงๆทราบว่าทำงานก่อสร้างถนนอยู่ที่นี่ อยู่มา ปีแล้ว ต้องยอมรับว่าขณะนี้จีนรุกตลาดโลกขนานใหญ่ หลังโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการเพื่อการแข่งขันโอลิมปิกปีxxxที่ผ่านมาแล้วเสร็จ การเติบโตของธุรกิจในประเทศเริ่มชลอตัว จีนก็ใช้ทุกกลยุทธที่จะรุกตลาดโลก ประเภทว่าทั้งแจกทั้งแถม ตอนนี้ในอัฟริกาแทบทุกประเทศจะมีบริษัทจีนทำงานอยู่ โครงการขนาดใหญ่ๆบริษัทจีนก็เสนอทางเลือกที่จะหาเงินสำหรับก่อสร้างให้ พร้อมเสนอตัวขอทำงาน คนงานบางส่วนก็เป็นนักโทษที่แทบไม่ต้องจ่ายค่าแรง ด้วยวิธีนี้จึงทำให้บริษัทต่างๆยากที่จะเอาชนะจีนได้ในการแข่งขัน
มีคนจีน 2 คนมุงดูปลายักษ์กะเขาด้วย
กลับถึงที่พักตอนค่ำล้างหน้าล้างตาก็ขอลอง dinner ของโรงแรมซะหน่อยเป็น beef rib เสต็กพร้อมเฟร้นไฟร์ จานนี้เบ็ดเสร็จ 5,000 ไนร่าหรือประมาณ 1,000บาท ก็ถือว่าปรกติไม่แพงนักสำหรับอาหารในโรงแรม เหน็ดเหนื่อยจากเดินทางทั้งวัน ทานเสร็จก็เลยเบิ่งขึ้นเตียงเลย

มื้อค่ำวันอาทิตย์หลังดูงาน
จันทร์ 23.06.14 หลังทานม้ือเช้าเสร็จช่วงเช้ามีกำหนดดูงานก่อสร้างถมทะเลเพื่อพัฒนาที่ดินที่เรียกว่า EKO Atlantic ซึ่งถมแล้วเสร็จแล้วประมาณ 50%  อีก 2 ปีคงเสร็จทั้งหมดแต่พื้นที่แล้วเสร็จเริ่มมีงานก่อสร้างถนน อาคารให้เห็นแล้ว
สภาพของ EKO Atlantic ที่ทำการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่
EKO Atlantic เป็นพื้นที่ถมทะเลที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอัฟริกา โดยทำคันหินทิ้งความลึก 8-10ม.ความยาวประมาณ 7km. ใช้ทรายถมที่ดูดมาจากทะเลจำนวน 140 ล้านลูกบาทก์เมตร คิดเป็นพื้นที่พัฒนาทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมเมตร เมื่อเสร็จแล้วคาดว่าจะมีที่พักสำหรับคนประมาณ 250,000 คน และผู้ที่เข้าออกเพื่อมาทำงานในพื้นที่นี้อีกประมาณ 250,000 คน/วัน

หาก ITDCem โชคดีได้งานฐานรากของโรงกลั่นน้ำมันข้างต้น ก็คงได้โอกาสที่จะหางานต่อในตามมาอีกในพื้นที่นี้ในอนาคต
สภาพที่เห็น เริ่มมีงานก่อสร้างในพื้นที่บ้างแล้ว
ช่วงบ่ายก็ได้ไปพบบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อทราบเรื่องการทำธุรกรรมต่างๆในไนจีเรีย เรื่องภาษีที่ต้องรับผิดชอบ แรงงานนำเข้าและอื่นๆที่จำเป็นต้องทราบก่อนที่เข้าไปลงทุนเสร็จแล้วก็หาที่ทานม้อเที่ยง ที่จริงก็ไม่รู้ว่ามื้อไหนแน่ เพราะตั้งแต่มื้อเช้า ณ ตอนที่มีโอกาสจะกินอีกทีนี้ก็ปาไป 4 โมงเย็นก็เลยถือโอกาสควบเป็นมื้อค่ำไปด้วยเลย ไหนๆก็ไหนๆก็เลยบอกเขาว่า ขอลองอาหารไนจีเรียแท้ๆดูซะหน่อยแล้วกัน
แวะทานมื้อเที่ยง ณ ภัตราคารอาหารไนจีเรียแท้ๆ
เนื่องจากไนจีเรียปลูกข้าวไม่พอกินในประเทศ ข้าวส่วนใหญ่จึงมาจากการนำเข้า และไทยก็เป็นคู่ค้าเรื่องข้าวที่สำคัญของไนจีเรีย คนไนจีเรียทั่วไปจึงทานเหมือนมันแกวหรือมันสัมปะหลังบด แล้วนำไปนึ่งเหมือนหมั่นโถวหรือซาลาเปาไม่มีไส้ของจีนกินแทนข้าว ส่วนอาหารเคียงก็มีหลายอย่างผัดคลุกเคล้ากัน คล้ายแกงคลั่วกลิ้งปักษ์ใต้ แต่ของที่ผัดรวมกัน สามารถเป็นได้หลายอย่างไม่ใช่เพียงอย่างเดียว ผมพยายามลองของแปลกที่สุด เลือก ปลา หอยทากหรือหอยโข่งก็ไม่รู้ และตีนวัว555 ผัดคลั่วกลิ้งว่างั้นเถอะหน้าออกมาดูเหมือนจะเผ็ดเพราะออกแดงๆแบบพริกแกง แต่จริงแล้วไม่เผ็ดคงเป็นสีแดงจากมะเขือเทศ รสชาดไม่เลวสำหรับผม หากเผ็ดนำสักนิดเหมือนคลั่วกลิ้งบ้านเราคงได้อรรถรสมากกว่านี้ คนที่นี่เขาทานอาหารด้วยมือครับ มีกะละมังใส่น้ำมาให้ล้างมือคนละกะละมัง ล้างมือตัวเองเสร็จต้องรีบก้มหน้ากินครับ อย่าหันไปมองคนอื่นๆกิน เดี๋ยวพาลจะกินไม่ลงเอา 

อาหารไนจีเรียที่สั่งมาทาน โดยจะทานกับมือ
Lagos คือเมืองใหญ่ที่สุดของไนจีเรียแต่ก่อนเป็นเมืองหลวง คนที่ไปด้วยเล่าขำๆให้ฟังว่า เมื่อคนมากขึ้น รถมากขึ้น (ประเภทว่ากรุงเทพหรืออินเดียรถติดแล้วนี่ยังสู้รถติดที่ Lagos ไม่ได้) รัฐบาลก็แก้ปัญหาโดยการย้ายเมืองหลวงไป Abuja ทางเหนือแทน ตามเส้นทางกลับไปยังโรงแรมนี่เห็นกับตาแล้วว่า ติดแบบแสนสาหัสจริงๆ 2-3ชม.บนถนนนี่เป็นเรื่องธรรมดของ Lagos จริงๆ เรื่องนัดผิดเวลาของคน Lagos นี่อย่าไปซีเรียสครับ เดี๋ยวจะทำธุรกิจกันไม่ได้ เขาวางแผนไม่ได้จริงๆ 2-3 นัดที่ตกลงกันระหว่างที่อยู่ที่ Lagos เฉลี่ยผิดนัด 30 นาที ถึง 2 ชม.ผมเป็นคนใจเย็นจากที่ชินกันกับการผิดนัดของอินเดียแล้ว ยังรู้สึกหงุดหงิดกับการผิดนัดของคน ไนจีเรียเลย ทันทีที่ถึงที่พักก็เข้าห้องอาบน้ำนอนทันทีเพราะรุ่งเช้าต้องออกแต่ 6โมงเช้าไปสนามบินกลับอินเดีย

สภาพรถติดในเมือง Lagos
อังคาร 24.06.14 ตามกำหนดนัด โมงเช้า คนมารับก็ยังทำให้ใจหล่นไปที่ตาตุ่มอีกที่โผล่มาถึง 6:20น. ขณะเครื่องมีกำหนดออก 9โมงเช้า ขึ้นรถได้พ่อคุณก็รีบบึ่งไปสนามบินทันที แม้ 6:30น. หันไปมองเลนส์ตรงข้ามเห็นรถติดเป็นกิโล โอ้มายก้อด...โชคดีที่ไปถึงสนามบินไม่ล่าช้าจนเกินไปเช็คอิน ผ่าน อิมมิเกรชั่น ใช้เวลาไม่เกิน 15นาทีเพราะไม่ต้องเข้าคิวยาวกับเขา

ผมรีบกลับมาก่อนเพราะมีภาระกิจที่จะต้องประชุมที่เดลลีอีก 26-27 มิ.ย.โดยปล่อยให้ลูกน้องอยู่หาข้อมูลต่อไปอีก 2-3 วัน

จากที่ดูบรรยากาศทั่วไปแล้ว เห็นว่าไนจีเรียมีศักยภาพในการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคตอันไกล้นี้จริง ด้วยศักยภาพที่มีทรัพยากรมีค่าจำนวนมากทั้งน้ำมัน ทั้งแก้ส น้ำตาล โกโก้ ขณะนี้การเมืองเริ่มเสถียรมากขึ้น การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น และตลาดอัฟริกาถือว่าไม่ไกลจากยุโรป เมื่อเศรษฐกิจยุโรปชลอตัว ตลาดอาหรับเริ่มคลอนแคลนจากการเมืองในประเทศ ทวีปอัฟริกาโดยเฉพาะไนจีเรีย จึงเป็นตลาดที่เหลือให้นักลงทุนต้องหันไปมองอย่างจริงจัง งานนี้พูดเป็นภาษากำลังภายในได้ว่า "แม้มิอยากจะไป ก็มิอาจไม่ไปได้" 

โลกทุกวันนี้ด้วยพลวัตรเทคโนโลยี่และความสะดวกในการเดินทาง เริ่มแคบลงเรื่อยๆ ทุกที่ที่ไหนก็ได้บนโลกผืนนี้ เราสามารถเดินทางไปถึงได้ภายใน 24 ชม. ตราบใดที่เราไม่หยุดการเรียนรู้ ก็มีที่พร้อมจะให้เราเรียนรู้ได้เสมอ....บายๆลากอส บายๆ ไนจีเรีย ขอขอบคุณ Alex, Edward และ King 3 สหายชาวไนจีเรีย ที่ดูน่ากลัวภายนอกแต่จิตใจขาวสะอาดภายใน ที่ได้ช่วยเหลืออนุเคราะห์ต่างๆตลอด 3 วันในลากอส จนทำให้ทริปนี้ผ่านไปได้ด้วยดี................











วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แร่โปแตสเซียม ขุมทรัพย์ช่วยเกษตรกร

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับอินเดียโดยตรง แต่เห็นว่ากำลังเข้ากับบรรยากาศในประเทศไทย ที่ผู้มีอำนาจสามารถพิจารณาเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนในชาติได้อย่างรวดเร็ว โดยปราศจากผลประโยชน์ทางการเมืองอื่นเข้ามาแซกแซงทางความคิด ก็เลยอยากจะฝากเรื่องนี้ไว้เป็นการบ้านอีก 1 เรื่องครับ 

นอกจากวิกฤติพลังงานแล้ว วิกฤติอาหารคืออีก 1 อย่าง ที่โลกกำลังจะเผชิญในอนาคต มนุษย์โลกปัจจุบันกว่า 6,000 ล้านคนกำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมแหล่งผลิตอาหารโลก กลับเหลือน้อยสวนทางกัน นี่ไม่คิดรวมปัจจัยอื่นๆ น้ำท่วม ฝนแล้ง ที่เป็นภาวะซ้ำเติมให้ผลผลิตยิ่งน้อยลงไปอีกนะครับ

ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มผลการผลิตเกษตรกรรม ทำอย่างไรจึงจะให้ต้นทุนอาหารถูกที่สุด เพื่อให้คนส่วนใหญ่ของโลกที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเสพบริโภคได้ในราคาที่ไม่สูงนัก และผู้ผลิตอาหารที่มีรายได้น้อย มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น


นอกจากปัจจัยอื่นๆแล้ว ปุ๋ยคือต้นทุนผลิตอาหารที่สำคัญที่สุดครับ

ไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 100 ล้านไร่ ที่เป็นแหล่งผลิตพืชเศษฐกิจสำคัญอยู่หลายรายการไม่ว่า  ข้าว ยางพารา ปาล์ม อ้อย และผลไม้ต่างๆ 5.2 ล้านตันปุ๋ยเคมี คิดเป็นเงิน 65,500ล้าน หรือ 96% ของปริมาณปุ๋ยเคมีที่ต้องการทั้งหมด ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปี

แร่โปแตสเซี่ยมคือแม่ปุ๋ยหลักที่ใช้ผลิตปุ๋ยเคมี มีคานาดาและรัสเซียเป็นแหล่งแร่โปแตสรายใหญ่ของโลก เฉพาะคานาดาประเทศเดียวก็ครองส่วนแบ่งส่งออกของโลกกว่า 45% และเกือบทั้งหมดมาจากเหมืองในเมืองซัสคัสชีวาน โดยมีผู้ลงทุนหลักจากสหรัฐอเมริกา

เราจึงเห็นภาพโดยรวมว่าในตอนนี้ ประเทศใดที่เป็นผู้คุมราคาปุ๋ยโลกที่เป็นต้นทุนอาหารของคนทั้งโลกอยู่ตอนนี้ มากที่สุด

หลายๆประเทศอื่นๆในโลกจึงตื่นตัวและเริ่มสำรวจแร่โปแตสของตนกันขนานใหญ่รวมทั้งไทย ผลปรากฎว่าเราก็พบแร่โปแตสสำรอง ของเราอยู่ประมาณ 407,000 ล้านตันทางภาคอีสานของประเทศ มีความพยายามกันมาแล้วหลายปี ที่จะผลิตแร่โปแตสออกมา แต่จนแล้วจนรอดก็ยังเริ่มผลิตไม่ได้

ผมไม่กล้าฟันธงว่าที่มันยังเกิดไม่ได้นั้น เป็นเพราะประเทศผู้เสียโอกาสทำทุกอย่างที่จะสกัดคู่แข่งขันของเขา

ใหนๆคสช.ก็เรียกคะแนนเสียงมาแล้วหลายเรื่อง ผมอยากเห็นอีก 1 เรื่องครับ ตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เหมือนโครงการบริหารจัดการน้ำ เรื่องพลังงาน หรือรถไฟความเร็วสูงแล้วรีบสรุปออกมาให้ประชาชนทราบภายใน 1 เดือน หากเห็นว่าเป็นประโยชน์จริง ก็ออกประกาศมาเลยครับ เราจะเร่งออกใบอนุญาตเพื่อให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตแร่โปแตสออกมาทำปุ๋ยให้เกษตรกรของเราโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ชาวนาได้ซื้อปุ๋ยถูกลงภายในเวลา 2 ปีจากนี้

เมื่อต้นทุนหลักของพืชเกษตรโดยเฉพาะข้าวถูกลง ชาวนาเขาก็สามารถมีกำไรได้ จากราคาตามกลไกตลาด โดยที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องไปช่วยแซกแซงราคา นี่จึงเป็นทางแก้ปัญหาชาวนาและเกษตกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกทางครับ

ข้อมูล: