1 เมษายน 2014 ที่ผ่านมา อินเดียก็ประกาศใช้ Company Act ฉบับใหม่ หลังจากที่ใช้ฉบับเก่ามาตั้งแต่ปี 1956 หากประมวลสาระหลักของการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายฉบับใหม่นี้ ก็แบ่งได้เป็น 2 หมวดหลัก คือ
หนึ่ง: ปรับปรุงระบบตรวจสอบบริษัทให้เข็มแข็งขึ้น กรรมการบริษัทอิสระ
(Independent Director) ต่อไปนี้ไม่ใช่แค่เข้าประชุมและได้เบี้ยประชุม
แต่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ ตามกฎหมายกำหนดด้วย
กล่าวคือจากนี้ไปหากบริษัทฯเกิดความผิดพลาดในภายหลังและตรวจสอบได้ว่าเกิดความบกพร่องจากการตรวจสอบของกรรมการอิสระ
ก็มีสิทธิถูกปรับหรือติดคุกหัวโตได้
การโยกย้ายถ่ายโอนหรือทำธุรกรรมกันเองระหว่างบริษัทในเครือ
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีขั้นตอนตรวจสอบเข็มแข็งขึ้น กันการโยกย้ายกำไร/ขาดทุน
จากบริษัทหนึ่งไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
สอง: กำหนดให้บริษัทมีข้อปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น
หรือพูดภาษาธรรมดาๆก็บอกว่าให้แต่ละบริษัทคำนึงถึงหลัก โปร่งใส มีคุณธรรม
และยุติธรรม ตรวจสอบได้โดยผู้ถือหุ้น (ย่อย) มากขึ้น นอกจากนั้น
จากแต่เดิมแค่แนวคิด ตอนนี้ก็กลายมาเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามแล้วคือเรื่อง Corporate Social
Responsibility หรือ CSR
หรือ
การรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยกฎหมายฉบับบใหม่นี้ กำหนดให้ทุกบริษัทมหาชน
จะต้องใช้เงิน 2% ของกำไรสุทธิ เพื่อการทำประโยชน์ต่อสังคม
และจะต้องรายงานการใช้เงินเพื่อการนี้ในรายงานประจำปี (Annual Report) ของบริษัททุกปีด้วย
เป็นไงครับ นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่อินเดีย นำหน้าไทยไปอีกก้าว
เรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนของประเทศที่เราประชาชนทั่วไป ไม่ได้รับอนิสงค์โดยตรง
แต่ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง เศษฐฏิจ และมีหลักปฏิบัติตามหลักธรรมภิบาลสูง
จะทำให้ประเทศมี Credit rating หรืออัตราความน่าเชื่อถือต่อประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้การลงทุนโดยต่างชาติก็สูงขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของประเทศ ก็จะต่ำลงด้วย
ท้ายสุดแล้วให้อนิสงค์ทางอ้อมจะถึงประชาชนตาดำๆ อย่างเราเอง กล่าวคือมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
ค่าครองชีพก็ไม่แพงเกินเหตุ
เราทุกคนในชาติ ขอเพียงอย่าซ้ำเติมประเทศ
แต่ช่วยกันให้ความรู้แก่คนรอบข้าง และสนับสนุนการกระทำดีใดๆ
ไม่ว่าของฝ่ายใดก็ตามด้วยใจที่เป็นธรรม
เชื่อว่าประเทศไทยเราก็จะยังคงเป็นประเทศที่ต่างชาติสนใจจะมาเที่ยวเป็นอันดับ 1 ในโลก ได้อีกแน่ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น