กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน
กฎอัยการศึกของไทย ตราขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2450 เรียกว่า กฎอัยการศึก ร.ศ. 126 มีทั้งสิ้น 9 มาตรา โดยถอดแบบมาจากกฎอัยการศึกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาใน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าอำนาจของทหารตามกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 นั้นยึดตามแบบฝรั่งเศส แต่ไทยใช้ตำราพิชัยสงครามตามแบบอินเดีย ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงทรงยกเลิกกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 และตรา กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457[1] ขึ้นใช้แทน มีทั้งสิ้น 17 มาตรา และยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
ตำรับพิชัยสงครามของอินเดียได้เดินทางมาถึงภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับคติความเชื่อ ศิลปะ วิทยาการแขนงต่างๆ และปรัชญาในการดำเนินชีวิตแบบพราหมณ์-ฮินดู และพุทธทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท(หินยาน) มีอิทธิพลต่อตำรับพิชัยสงครามของประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบทั้งหมดรวมทั้งไทยด้วย
ศาสตร์ในการทำสงครามหรือพิชัยยุทธ์ถือเป็นศาสตร์ชั้นสูงที่เหล่ากษัตริย์ในสมัยโบราณต้องศึกษาเรียนรู้อย่างแตกฉานโดยผ่านการถ่ายทอดจากพราหมณ์หรือบัณฑิตประจำราชสำนักเพราะกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงคือจอมทัพหรือนักรบที่จะต้องทำศึกสงครามทั้งในเขตราชอาณาจักรและนอกเขตราชอาณาจักรของตน
วันนี้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงคราม แต่เป็นสงครามรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ขนอาวุธยุทโธปกรณ์มาประจัญบาลกันซึ่งๆหน้า (แม้จะมีบ้างประปรายจากบางกลุ่ม) ที่อาจจะนำไปสู่การสูญเสียของประเทศมากไปกว่านี้ จึงเป็นหน้าที่ของทหารตามรัฐธรรมนูญที่จะประกาศกฎอัยการศึกได้
งานนี้คงมีการเชือดไก่ให้ลิงดูแน่นอน อย่ากระพริบตาครับ ว่าใครจะสังเวยศาลทหาร ตามกฎอัยการศึกเป็นรายแรกหลังจากนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น